บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชาอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน
วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554
การควบคุมจริยธรรมนักการเมือง
เมื่อเดือนเมษายน ปี 2543 มีเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้น ก็ทำให้มีการพูดถึงการสมานฉันท์ พอมาถึงพฤษภาคม ปี 2553 นี้ มีเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องเดียวกันเกิดขึ้นอีก แต่เหตุการณ์มีความรุนแรงมากกว่าและหนักกว่า ก็ทาให้มีการพูดถึงแผนปรองดอง ถ้าจะว่ากันไปแล้ว ผลทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้น ล้วนมาจากเหตุของความขัดแย้ง โดยมีคู่กรณีเป็นนักการเมือง คือ ระหว่างฝ่ายนักการเมืองมีอานาจกับฝ่ายต้องการมีอานาจ และถ้าไม่มอง ในแง่ร้ายกันมากนัก ก็อาจจะถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา สาหรับการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง
เพียงแต่การได้มาซึ่งอานาจ และใช้อานาจให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนในลักษณะที่ว่านั้นเป็นวิถีทางหรืออุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อคนเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย เป็นคนยึดมั่นในความมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งต้องไม่เอาเรื่องการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรมมาพูดกัน รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับปี 2550 ก็ยังแยกเรื่องจริยธรรมกับเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ออกจากกัน และแต่ละเรื่องมีเนื้อหาและรายละเอียดมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องจริยธรรม ซึ่งนอกจากการให้ความสาคัญ ในส่วนที่ว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมแล้ว ในรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกันนี้ยังให้ความสาคัญ กับการกาหนดให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพ ในการควบคุมและลงโทษทางวินัยแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมด้วย
สำหรับข้อกาหนดเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม โดยเฉพาะการกาหนดให้นักการเมือง ได้ยึดมั่นในอุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ปฏิบัติหน้าที่การงานให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน ที่มีปรากฏในประมวลจริยธรรมของนักการเมือง มีลักษณะต่าง ๆ เช่น
จริยธรรมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ โดยยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสิ่งสูงสุด ต้องปฏิบัติหน้าที่และแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเที่ยงธรรม และมีความเป็นอิสระ เพื่อรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสาคัญ
จริยธรรมสมาชิกวุฒิสภา ต้องมีอุดมการณ์ในการทางานเพื่อประเทศชาติและรับใช้ประชาชนอย่างเต็มความสามารถ ด้วยความรับผิดชอบ ยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสิ่งสูงสุด
จริยธรรมข้าราชการการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ต้องมีอุดมการณ์ในการทางานเพื่อประเทศชาติ ต้องถือเอาประโยชน์ประเทศชาติและประชาชนเป็นสิ่งสูงสุด ต้องรับใช้ประชาชนอย่างเต็มความสามารถด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติและปราศจากอคติ
สาหรับการลงโทษก็ได้กาหนดกระบวนการพิจารณาและกาหนดโทษไว้ชัดเจน คือ ในกรณีที่คณกรรมการเห็นว่ามีพยานหลักฐานที่มีน้าหนักรับฟังได้ และที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใดฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมข้อใด ให้คณะกรรมการมีอานาจพิจารณาลงโทษสมาชิกผู้นั้น ในกรณีคณะกรรมการมีมติว่าเป็นความผิดไม่ร้ายแรง ให้ลงโทษโดยว่ากล่าวตักเตือน ตาหนิ ให้ขอโทษตามที่คณะกรรมการกาหนด หรือประณามให้เป็นที่ประจักษ์ แต่ในกรณีที่คณะกรรมการมีมติว่าเป็นความผิดร้ายแรง ให้ลงโทษโดยเสนอการถอดถอนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินตามกฎหมายต่อไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น