บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชาอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

หมอตุลย์แนะเลี่ยงปฏิวัติต้องไม่แตะทหาร


หมอตุลย์แนะนักการเมืองอย่าโยกย้าย ทหาร สร้างเงื่อนไขรัฐประหาร สุดาแนะลงโทษคนผิดก่อนปรองดอง บก.ลายจุดชี้ทหารเป็นแค่เครื่องมือรัฐประหาร เสนอถอดบทเรียนจริงจัง แทนคุณไม่เอารัฐประหารด้วย ย้ำต้องกำจัดคอร์รัปชั่น เนื่องในวาระ 5 ปี การรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) จัดการเสวนาเรื่อง "การรัฐประหารเปลี่ยนแปลงประเทศไทยอย่างไร" ที่ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ดำเนินรายการโดยวรรณภา ติระสังขะ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีผู้ให้ความสนใจร่วมรับฟังเต็มห้องประชุม หมอตุลย์แนะนักการเมืองอย่าโยกย้ายทหาร สร้างเงื่อนไขรัฐประหาร นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน กล่าวว่า รัฐประหารไม่ได้ทำให้บ้านเมืองดีขึ้น พร้อมยกตัวอย่างว่า หลังรัฐประหาร 2534 เมื่อ รสช.พยายามดำรงตำแหน่งต่อ ก็มีผู้ออกมาคัดค้านการ "เสียสัตย์เพื่อชาติ" ของ รสช.จำนวนมาก จนเกิดการบาดเจ็บล้มตายมากกว่าเหตุการณ์ 7 ต.ค.51 กับ 19 พ.ค.53 รวมกันเสียอีก ทั้งนี้ นพ.ตุลย์ มองว่า ข้ออ้างของ คมช. ในการทำรัฐประหารที่ว่ามีการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือหมิ่นในหลวงนั้น เป็นข้ออ้างมากกว่า แต่สาเหตุที่แท้จริงมาจากการโยกย้ายทหารของนักการเมือง ดังนั้น หากไม่อยากให้เกิดปฏิวัติรัฐประหาร จะต้องไม่สร้างเงื่อนไขให้เกิดขึ้น การแตะต้องทหารทำเท่าที่สมควร ต้องเปิดเผยว่าย้ายใครเพราะอะไร นอกจากนี้ ภาคประชาชนต้องต่อรองกับภาคการเมืองให้ไม่ทุจริตจนเกินสมควร หากทำได้ ทหารจะไม่มีข้ออ้างในการทำรัฐประหาร สุดาแนะลงโทษคนผิดก่อนปรองดอง ด้าน สุดา รังกุพันธ์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มต้นด้วยการกล่าวไว้อาลัยถึงนายนวมทอง ไพรวัลย์ คนขับแท็กซี่ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร และสุดท้ายผูกคอตายเพื่อพิสูจน์ว่ามีคนที่ยอมพลีชีพเพื่อประชาธิปไตยจริง พร้อมย้ำว่า ไม่มีการรัฐประหารที่ไม่นองเลือดอย่างที่ คปค.เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างชาติ โดยระบุว่า ตลอดห้าปีที่ผ่านมา มีผู้ที่เสียชีวิตหลายร้อยราย ทั้งจากการสังหารหมู่ที่ราชประสงค์และผ่านฟ้า ทั้งที่ข้อเสนอในการชุมนุมครั้งนั้นเป็นไปตามแนวสันติวิธีคือการให้มีการ เลือกตั้งใหม่ เพื่อแก้วิกฤตอันเนื่องจากรัฐประหาร นอกจากนี้ สุดา ระบุว่า การรัฐประหารยังทำลายระบบนิติรัฐ โดยกฎหมายกลายเป็นเครื่องมือของฝ่ายยึดอำนาจ มีการตั้งคณะกรรมการนอกเหนือกลไกปกติในการตรวจสอบการทุจริต หลักที่ว่าคนยังบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดสูญหายไป ผู้ชุมนุมที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยกลายเป็นมีความผิดจนกว่าจะถูก คณะนิติราษณ์และ เชิญชวนสื่อให้นำข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์มาถกเถียงเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป นอกจากนี้ การเข่นฆ่าประชาชนเมื่อปีที่ผ่านมา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม หากกลไกในประเทศไม่ทำงาน อาจให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาช่วย หลังจากนั้นจึงจะสามารถกลับมาปรองดองกันได้ บก.ลายจุดชี้ทหารเป็นแค่เครื่องมือรัฐประหาร เสนอถอดบทเรียนจริงจัง  สมบัติ บุญงามอวงศ์ หรือ บก.ลายจุด นักกิจกรรมที่ออกมาต่อต้านรัฐประหาร ระบุว่า รัฐประหาร 19 ก.ย.2549 ได้เปลี่ยนมือที่ไม่สะอาดนัก เป็นหลังเท้าเขียวๆ ของท็อปบู๊ต เกิดการปกครองโดยระบบทหารเป็นใหญ่ จากทหารอาชีพกลายเป็นทหารการเมือง ที่ให้สัมภาษณ์เรื่องการเมือง หรือเรียกสื่อมาถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์ ซึ่งในประเทศประชาธิปไตยจะไม่มีสถานการณ์เช่นนี้ ขณะเดียวกัน การรัฐประหารได้เปลี่ยนประชาชนที่นิ่งเฉยออกสู่ท้องถนน ตั้งคำถามและหาความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บก.ลายจุด กล่าวเสริมว่า แม้ในช่วง 1-2 ปีแรกของรัฐประหารอาจมีบางคนดีใจ โพลล์บางสำนักสำรวจความเห็นพบว่า ประชาชน 80-90% เห็นด้วยกับรัฐประหาร แต่ถามว่าคนที่เคยบอกว่าเห็นด้วย วันนี้ความคิดเปลี่ยนไปหรือไม่ พร้อมยกตัวอย่างว่าแม้แต่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้ก่อการรัฐประหาร ในที่สุดก็ออกมาแสดงความเห็นว่าไม่ควรทำรัฐประหาร ทั้งนี้ สมบัติเสนอว่า จากนี้ควรมีการดีเบตกันเรื่องนิยามของ "ประชาธิปไตย" โดยเปิดให้มีการอภิปรายถึงประชาธิปไตยทุกรูปแบบ ถ้าเริ่มจากตรงนี้ไม่ได้ เราจะไม่ไปไหน นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของ "ความดี" และ "คนดี" ที่ต้องตรวจสอบได้ด้วย นอกจากนี้ สมบัติระบุว่า คนที่คอร์รัปชั่นไม่ใช่มีแค่นักการเมือง แต่มีข้าราชการด้วย ดังนั้น ตั้งคำถามว่า เหตุใดจึงไม่มีการรัฐประหารทุกรัฐบาล โดยเขามองว่า การรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 ไม่ใช่เจตจำนงของทหาร ทหารเป็นเพียงแค่เครื่องมือของปฏิบัติการในครั้งนี้ และเสนอว่าจะต้องถอดบทเรียนเรื่องนี้อย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้นจะวิเคราะห์ผิด โดยเสนอให้คำนึงถึงพลังต่างๆ ในสังคมไทย ที่กระทบต่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยไทยด้วย และย้ำว่าจะทางออกจากรัฐประหารต้องมุ่งไปที่ประชาชนเท่านั้น แทนคุณไม่เอารัฐประหารด้วย ย้ำต้องกำจัดคอร์รัปชั่น แทนคุณ จิตอิสระ พิธีกรและนักแสดง กล่าวว่า เขาละอายใจทุกครั้งที่เกิดรัฐประหาร เพราะคือความอัปยศที่อัปลักษณ์ เขาเปรียบเทียบว่า ข้ออ้างต่างๆ ในการทำรัฐประหารอย่างคอร์รัปชั่น กาารล้มเจ้า ความแตกแยกในหมู่ประชาชน เป็นเหมือนเนื้องอกหลายจุด แต่กลับมีคนคิดว่า รัฐประหารซึ่งเปรียบได้กับการฉีดไวรัส แล้วจะหาย ซึ่งปรากฏว่าไม่หาย เชื้อโรคกลับบูรณาการ เกิดความแตกแยกยิ่งขึ้น โดยแทนคุณมองว่า แม้ปัญหาต่างๆ จะมีอยู่จริง แต่ไม่ใช่ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ควรจะแก้เป็นเรื่องๆ ให้ประชาธิปไตยเดินหน้าต่อ ไม่ใช่ตัดตอนประชาธิปไตย ซึ่งซ้ำเติมปัญหาขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม แทนคุณระบุว่า การจะไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก ผู้มีอำนาจที่แท้จริงจะต้องไม่ผูกขาดอำนาจ แม้ว่าอำนาจนั้นจะมาจากประชาชน พร้อมระบุว่า ประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้น เราไม่ได้เลือกนายที่ตรวจสอบไม่ได้ หรือหลงจนไม่มองว่าถูกหรือผิด ซึ่งเขามองว่าไม่ใช่เพราะประชาชนด้อยคุณภาพ แต่บางทีการรักใครมากๆ อาจทำให้เห็นแต่ข้อดี ซึ่งไม่ควรเป็นเช่นนั้น พร้อมแนะว่าเมื่อนักการเมืองที่รักมีปัญหา ก็ต้องออกมาตรวจสอบด้วย โดยเขาอยากเห็นการทุจริตและการยอมรับการทุจริตหมดไป แทนคุณเสนอว่า คุณภาพของประชาธิปไตยต้องสัมพันธ์กับคุณภาพของประชาชน ดังนั้น ต้องปฏิรูปการศึกษา สร้างโอกาสการเข้าถึงการศึกษา สร้างวุฒิภาวะทางประชาธิปไตย โดยเปิดช่องทางพูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างมีวุฒิภาวะ ทั้งนี้ ระหว่างการเสวนามีการแสดงความไม่เห็นด้วยกับผู้ร่วมเสวนาด้วยการโห่เป็น ระยะๆ อาทิ กรณีที่ นพ.ตุลย์กล่าวถึงการโยกย้ายทหาร หรือการสลายการชุมนุมเมื่อปีที่ผ่านมาว่ามีกลุ่มคนบุกเข้าไปในโรงพยาบาล จุฬาฯ และกรณีที่ แทนคุณกล่าวถึงการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือการพูดถึงเหตุการณ์การบุกทุบรถนายกฯ ในปี 2552 และการยิงเอ็ม 79 จากกลุ่มไม่ทราบฝ่ายในปี 2553 ซึ่งเขามองว่าเป็นการดิสเครดิตเสื้อแดงและทหาร และใส่ร้ายให้แตกแยกกัน ทั้งนี้ บก.ลายจุดได้กล่าวชื่นชมทั้งสองที่มาร่วมเวทีเสวนา ทั้งที่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตาม ได้ขอให้ผู้ฟังช่วยสร้างบรรยากาศโดยให้เกียรติรับฟังผู้ร่วมเสวนาด้วย ในช่วงท้าย เกิดเหตุชุลมุนขึ้น ขณะที่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรังสิต ลุกขึ้นแสดงความเห็นว่าการโห่นั้นไม่ใช่วิถีทางประชาธิปไตย และว่ารัฐบาลไหนก็ชั่วอัปรีย์จัญไรเหมือนกัน พร้อมระบุว่า เขาอยากเห็นรัฐบาลโดยประชาชนที่แท้ ไม่ต้องมีสีเสื้อ แต่คิดว่ามันเกิดขึ้นไม่ได้แน่ เพราะว่า ในขณะที่ตนกำลังพูดอยู่นี้ มีผู้ฟังที่ไม่มีมารยาท สร้างความไม่พอใจให้กับผู้ฟัง จนเกือบเกิดการปะทะกัน จนต้องมีการกันตัวนักศึกษาคนดังกล่าวออกไป ธัญพงศ์ นิลสุวรรณ นายก อมธ. ให้สัมภาษณ์ว่า การจัดงานครั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฟังการเสวนาได้เห็นมุมมองจากนัก เคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมือง ทั้งฝั่งเสื้อเหลืองและเสื้อแดง ซึ่งเกิดขึ้นได้ยากที่ตัวแทนแต่ละฝั่งจะเข้ามาพูดคุยกัน นายก อมธ. มองว่า การเสวนาครั้งนี้เป็นไปได้ด้วยดี แม้ขณะวิทยากรพูด จะมีผู้ฟังโห่ แสดงความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ตามสถานการณ์ ซึ่งไม่ใช่ปัญหา เพราะถือเป็นการแสดงความเห็น แต่เหตุการณ์วุ่นวายนั้นเกิดขึ้นในตอนที่เปิดให้ผู้ร่วมฟังร่วมซักถาม ซึ่งมีผู้ใช้คำพูดรุนแรงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น "เราควรมองคนทุกคนในระดับเดียวกัน คนทุกคนมีอารมณ์อยู่แล้ว แต่อยู่ที่จะควบคุมได้หรือเปล่า เราตอบไม่ได้ว่าเขาถูกหรือผิด เพราะเกิดจากการกระตุ้นของผู้ร่วมฟังที่ใช้คำพูดที่รุนแรง" นายก อมธ.กล่าวและว่า งานครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จ แม้จะมีปัญหาขัดข้องอยู่เล็กน้อย แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่แต่ละฝ่ายจะได้ฟังความเห็นของอีกฝ่าย

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ผลทางกฎหมายในการเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่


 


เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ๙ คน (คนที่ลาออกไป ๑ คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลืออีก ๘ คน) มีมติเป็นเอกฉันท์เลือกนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ แทนนายชัช ชลวร อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งลาออกไปเมื่อวันที่ ๑๐ เดือนเดียวกัน และสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบเพื่อพิจารณานำขึ้น ทูลเกล้าฯ ต่อไป
การกระทำของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาข้อกฎหมาย ว่า เป็นการกระทำที่ชอบด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จะมีขั้นตอนใดที่จะมีการคานอำนาจของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้

ที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก ๘ คน และจะต้องได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของวุฒิสภา
ผู้ได้รับเลือกให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรวม ๙ คน จากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด และผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์และสาขาอื่น ๆ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา จะต้องประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐๔)
การดำเนินการเมื่อประธานหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง เมื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้น จากตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระหรือก่อนครบวาระ จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งตามวาระ พร้อมกันทั้งหมด จะต้องเริ่มดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลผู้จะเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน ๙ คน ชุดใหม่ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดเดิมพ้นจากตำแหน่ง

(๒) ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งนอกจาก กรณีพ้นจากตำแหน่งตามวาระพร้อมกันทั้งหมดตามข้อ (๑) จะต้องดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลผู้จะมาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคน ใหม่ตามสายงานของคนที่พ้นจากตำแหน่ง ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่คนเดิมพ้นจากตำแหน่ง กรณีที่จะเกิดขึ้นตามข้อ (๒) นี้ได้แก่ การพ้นจากตำแหน่งตามวาระบางส่วน และการลาออกทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนครบวาระ ฯลฯ

ในกรณีที่ผู้พ้นจากตำแหน่งตามข้อ (๑) และ (๒) เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ได้รับเลือกมาใหม่ ๙ คน หรือผู้ได้รับเลือกมาใหม่และตุลาการคนเดิมที่เหลืออยู่ จะต้องประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๑๐ วรรคหนึ่งและวรรคสี่ ) หมายความว่า ประธานศาลรัฐธรรมนูญซึ่งลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญต้องพ้นจากความ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไปด้วย ไม่ใช่พ้นเฉพาะตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น


การกระทำของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
การที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนเก่าทั้ง ๙ คน ประชุมกันเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ แล้วเลือกนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ โดยไม่ให้ศาลฎีกาประชุมใหญ่เลือกผู้พิพากษาในศาลฎีกาคนหนึ่งไปแทนนายชัช ชลวร อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมาจากศาลฎีกา และลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญไปแล้ว ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๐ วรรคสอง (๑)
เพราะในกรณีผู้พ้นจากตำแหน่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องมีการเลือกผู้ที่จะมาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่แทนก่อน แล้วคนใหม่และคนเก่าที่เหลืออยู่ร่วมประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็น ประธานศาลรัฐธรรมนูญ คนเก่าทั้ง ๙ คน จะร่วมประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญดังเช่นที่ ปรากฏอยู่นี้ไม่ได้
หากจะพูดอย่างนักกฎหมายก็พูดได้ว่า ในกรณีที่ผู้พ้นจากตำแหน่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ จะข้ามไปใช้มาตรา ๒๑๐ วรรคสี่ทันที (โดยคนเก่า ๙ คนประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ) ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑๐ วรรคสอง ซึ่งให้สายงานเดิมของอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญไปเลือกผู้ที่จะมาแทนก่อนไม่ ได้ หากใช้มาตรา ๒๑๐ วรรคสี่ทันที ก็เท่ากับมาตรา ๒๑๐ วรรคสองกลายเป็นหมันไป และการประชุมเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ กลายเป็นการประชุมของคนเก่าทั้งหมด ไม่มีผู้ได้รับเลือกให้มาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่เข้าร่วมประชุมด้วย จึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๒๐๔ วรรคสาม



การคานอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
การดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อมีกรณีประธานศาลรัฐ ธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง เป็นการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ไม่ใช่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

(๑) เมื่อศาลอื่นส่งเรื่องมาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลนั้นจะใช้บังคับแก่คดี ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (มาตรา ๒๑๑)

(๒) เมื่อมีบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๑๒)

(๓) เมื่อประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาลตั้งแต่ ๒ องค์กรขึ้นไปเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยกรณีความ ขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรเหล่านั้น (มาตรา ๒๑๔)

(๔) คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีอื่นที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

การดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อมีประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาล รัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง จึงไม่ใช่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ (มาตรา ๒๑๖ วรรคห้า)

ทั้งการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวก็เป็นการกระทำอันตุลาการศาล รัฐธรรมนูญแต่ละคนมีส่วนได้เสียโดยตรง การกระทำของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมไม่เป็นคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่จะ เป็นเด็ดขาดได้
การคานอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีเช่นนี้จึงอยู่ที่ขั้นตอนประธานวุฒิสภานำความขึ้นกราบบังคมทูล และคณะองคมนตรีถวายความเห็น
กล่าวโดยสรุป การที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนเก่าทั้ง ๙ คน ประชุมกันเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ แล้วเลือกนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ โดยไม่ให้ศาลฎีกาประชุมใหญ่เลือกผู้พิพากษาในศาลฎีกาคนหนึ่งไปแทนนายชัช ชลวร อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาจากศาลฎีกาและลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญไปแล้ว จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๐ วรรคสอง (๑)

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ยื่นหนังสือค้านแก้112

กลุ่มเสื้อหลากสี หรือกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ ประมาณ 20 คน ได้เดินทางมายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ที่ด้านข้างรัฐสภา บริเวณแยกคนละฟากฝั่งถนนและอู่ทองใน เจ้าหน้าที่ตำรวจคุมเข้าเนื่องจากเกรงม๊อบชนม๊อบ ในส่วนกลุ่มคนเสื้อแดงยืนอยู่คนละฟากถนน แต่ไม่มีการปะทะกันแต่อย่างใด นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี กล่าวว่า ที่มากันในวันนี้เพราะไม่พอใจแถลงการณ์ของรัฐบาลไม่ตรงกับนโยบายที่หาเสียง เช่นเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ300 บาท ส่งผลกระทบต่อเจ้าของกิจการที่อาจทำให้เกิดปัญหาการเลิกจ้าง ทำให้คนไทยขาดรายได้ และในกรณีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่เป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยได้เสนอให้ รัฐบาลยกเลิกมาตรา112 โดย นพ.ตุลย์ แถลงยืนยันว่าห้ามไม่ให้มีการแก้ในมาตราดังกล่าว



กรุงเทพโพลล์เผย นศ.ปี4 เห็นด้วยกับนโยบาย 15,000

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นของนิสิต นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่เรียนอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชนใน เขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน 1,185 คน พบว่า ส่วนใหญ่เมื่อเรียนจบแล้วอยากทำงานในหน่วยงานเอกชน (ร้อยละ 39.6) รองลงมา คือ ประกอบธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 25.7) หน่วยงานราชการ (ร้อยละ 18.2) และ รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 16.5) ตามลำดับ
ทั้งนี้นิสิตนักศึกษาร้อยละ 41.9 ไม่แน่ใจในนโยบายของรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ที่ให้ผู้ทำงานวุฒิปริญญาตรีมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท ว่าจะสามารถทำได้จริงหรือไม่ ในขณะที่ ร้อยละ 29.5 เชื่อว่าทำได้ และ ร้อยละ 28.6 เชื่อว่าทำไม่ได้ นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า หากนโยบายมีผลบังคับใช้จริงจะส่งผลกระทบต่อการหางานเมื่อจบการศึกษา ถึง ร้อยละ 69.4 (ได้แก่ อาจทำให้หางานยากขึ้น และเกณฑ์ในการรับสมัครน่าจะเข้มขึ้น ฯลฯ) ขณะที่ร้อยละ 30.6 ระบุว่าไม่ส่งผลกระทบ (โดยให้เหตุผลว่า เรียนในสาขาที่มีงานรองรับอยู่แล้ว มีสถานประกอบการเยอะ และตั้งใจจะเรียนต่อปริญญาโท ฯลฯ)   ส่วนเรื่องที่อยากฝากบอกรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มากที่สุดคือ ให้เร่งทำทุกนโยบายให้เป็นจริงตามที่ได้หาเสียงไว้ร้อยละ 33.0 รองลงมาคือ ให้ประเทศพัฒนายิ่งขึ้น และนึกถึงประโยชน์ของประชาชนมาก่อนร้อยละ 12.0 และให้ตั้งใจทำงานให้เต็มที่ร้อยละ 10.4
ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
1. หน่วยงานที่นิสิตนักศึกษาอยากจะทำงานเมื่อเรียนจบแล้ว คือ
  • เอกชน ร้อยละ 39.6
  • ประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 25.7
  • ราชการ ร้อยละ 18.2
  • รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.5
 2. ความเชื่อมั่นที่มีต่อนโยบายของรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ที่ให้ผู้ทำงานวุฒิปริญญาตรีมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท คือ
  • เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 29.5
  • เชื่อว่าทำไม่ได้ ร้อยละ 28.6
  • ไม่แน่ใจ ร้อยละ 41.9
3. ความคิดเห็นต่อแนวทางของรัฐบาลที่จะดำเนินนโยบายจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้ที่จบปริญญาตรีเดือนละ 15,000 บาท มีดังนี้
แนวทาง เห็นด้วย
(ร้อยละ)
ไม่เห็นด้วย
(ร้อยละ)
ไม่แน่ใจ
(ร้อยละ)
ให้เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป 61.7 9.8 28.5
ใช้คุณภาพของบัณฑิตเป็นตัวชี้วัดว่าใครควรจะได้เงินค่าจ้าง 15,000 บาท 57.1 16.3 26.6
สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรีขึ้นไปแต่รายได้ยังต่ำกว่า 15,000 บาทใช้วิธีเพิ่มค่าครองชีพ เพื่อให้ได้รับค่าจ้างรวมแล้วเป็น 15,000 บาท ต่อเดือน 56.9 13.7 29.4

4. ผลกระทบต่อการหางานเมื่อจบการศึกษาหากนโยบายข้างต้นมีผลบังคับใช้จริง คือ
  • เชื่อว่าจะส่งผลกระทบ ร้อยละ 69.4 (ได้แก่ หางานยากขึ้น มีการแข่งขันแย่งงานกันมากขึ้น และเกณฑ์ในการรับสมัครอาจจะเข้มขึ้น ฯลฯ)
  • เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบ ร้อยละ 30.6 (โดยระบุว่า เรียนในสาขาที่มีงานรองรับอยู่แล้ว มีสถานประกอบการเยอะ มีธุรกิจส่วนตัว และตั้งใจจะเรียนต่อปริญญาโท ฯล
5. เรื่องที่นิสิตนักศึกษากังวลมากที่สุดหากรัฐบาลจะดำเนินนโยบายดังกล่าว คือ
  • กังวลว่าบริษัทเอกชนจะเปิดรับผู้ที่จบปริญญาตรีเข้าทำงานลดลง ร้อยละ 30.0
  • กลัวจะถูกเลิกจ้างเมื่อทำงานไปได้ระยะหนึ่งเพราะหน่วยงาน ร้อยละ 18.5
  • แบกรับภาระเรื่องค่าจ้างไม่ไหว
  • กลัวจะไม่มีงานทำ / ว่างงาน ร้อยละ 17.9
  • เกิดการแข่งขันเพื่อเข้าทำงานราชการมากขึ้น ร้อยละ 13.9
  • กังวลว่าต้องสมัครงานในวุฒิที่ต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 3.6
  • อื่นๆ อาทิ กลัวเรื่องเงินเฟ้อ ของแพงขึ้น เป็นหนี้ เป็นต้น ร้อยละ 3.2
  • ไม่กังวล ร้อยละ 12.9
6. เรื่องที่อยากฝากบอกรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
  • ให้เร่งทำทุกนโยบายให้เป็นจริงตามที่ได้หาเสียงไว้ ร้อยละ 33.0
  • ให้ประเทศพัฒนายิ่งขึ้น และนึกถึงประโยชน์ของประชาชนมาก่อน ร้อยละ 12.0
  • ให้ตั้งใจทำงานให้เต็มที่ ร้อยละ 10.4
  • ให้ทำงานอย่างสุจริต ไม่โกงกิน ร้อยละ 7.9
  • ให้ทำนโยบายค่าตอบแทนปริญญาตรีเดือนละ 15,000 ให้สำเร็จ ร้อยละ 7.5

การประกันราคาข้าวของรัฐบาล


 บางคนที่ไม่เข้าใจเศรษฐศาสตร์การเมืองเพียงพอจะพูดง่ายๆ ว่า ความขัดแย้งในสังคมไทยที่นำไปสู่วิกฤต คือความขัดแย้งระหว่างนโยบาย “โลกาภิวัตน์กลไกตลาดเสรี” ของทักษิณและไทยรักไทย ในฐานะที่เป็น “กลุ่มนายทุนสมัยใหม่” กับนโยบาย “ปิดประเทศต้านโลกาภิวัตน์ ต้านเสรีนิยม” ของอำมาตย์หัวเก่า   ในความเป็นจริง นโยบายของรัฐบาลทหารหลังรัฐประหาร 19 กันยา และนโยบายของรัฐบาลทหารของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ล้วนแต่ใช้แนวเสรีนิยมกลไกตลาดสุดขั้วที่คัดค้านการใช้รัฐและงบประมาณรัฐในการพัฒนาสภาพคนจน
นอกจากนี้มีการส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่คัดค้านการกระจายรายได้ แช่แข็งความเหลื่อมล้ำ และเรียกร้องให้คนจนเจียมตัวปรับตัวกับความยากจน ซึ่งเป็นลัทธิที่เข้ากับเสรีนิยมกลไกตลาดได้ดี
รัฐบาลไทยตั้งแต่ยุคสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใช้กลไกตลาดเสรี มือใครยาวสาวได้สาวเอา หันหลังให้กับประชาชนคนจน ใช้รัฐเพื่อประโยชน์อำมาตย์อย่างเดียว พอถึงรัฐบาลทหาร รสช. ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี มีการเปิดเสรีทางการเงินมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ ในขณะที่อัตรากำไรกำลังลดลง และในที่สุดก็เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งตามมา ไทยรักไทยจึงนำนโยบายเศรษฐกิจคู่ขนานเข้ามาเพื่อใช้รัฐพัฒนาชีวิตคนจน
วิโรจน์ ณ ระนอง และอัมมาร สยามวาลา จาก ทีดีอาร์ไอ เป็นพวกคลั่งกลไกตลาดเสรีตามสูตรอำมาตย์มานาน เขาคัดค้านการใช้รัฐเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยคนจนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ คัดค้านไม่ให้ไทยเป็นรัฐสวัสดิการด้วย แต่ไม่เคยคัดค้านการเพิ่มงบประมาณทหาร ไม่เคยวิจารณ์รัฐประหาร ดังนั้นเวลาเขาวิจารณ์นโยบายประกันราคาข้าวของรัฐบาลเพื่อไทย เราไม่ควรแปลกใจหรือตื่นเต้น เขาไม่ใช่ "ผู้รู้" เขาเป็นแค่นักวิชาการฝ่ายที่เข้าข้างคนรวย นายทุน และอำมาตย์เท่านั้นเอง
คนที่ไม่เข้าใจเศรษฐศาสตร์การเมือง มองว่าความขัดแย้งในสังคมไทย คือความขัดแย้งระหว่าง “โลกาภิวัตน์กลไกตลาดเสรี” ของทักษิณที่เป็น “กลุ่มนายทุนสมัยใหม่” กับนโยบาย “ปิดประเทศต้านโลกาภิวัตน์ต้านเสรีนิยม” ของอำมาตย์หัวเก่า แต่ในความเป็นจริง รัฐบาลทหารหลังรัฐประหาร 19 กันยา รัฐบาลทหารของอภิสิทธิ์ ใช้แนวเสรีนิยมกลไกตลาดสุดขั้ว ที่คัดค้านการใช้รัฐในการพัฒนาสภาพคนจน และมีการส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่แช่แข็งความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นลัทธิที่เข้ากับเสรีนิยมกลไกตลาดได้ดี    นี่คือสาเหตุที่คนเสื้อแดงควรคัดค้านเสรีนิยมกลไกตลาด และควรสนับสนุนการใช้รัฐและเก็บภาษีเพื่อประโยชน์คนจน

การใช้รัฐฝืนตลาดเพื่อประกันราคาข้าวให้กับเกษตรกรเป็นเรื่องดี ควรจะนำข้าวนั้นมาขายให้ประชาชนในราคาถูก ส่งออกในราคาถูก และรัฐควรใช้เงินที่มาจากการเก็บภาษีจากคนรวย และการตัดงบประมาณทหารเพื่อทำโครงการนี้ นอกจากนี้ถ้าโอนสื่อทหารให้รัฐบาล รัฐก็จะมีได้รายได้เข้าคลังเพิ่มขึ้น แทนที่จะตกอยู่ในมือนายพลมือเปื้อนเลือด
นอกจากการประกันราคาข้าวแล้ว รัฐบาลควรมีนโยบายเพิ่มค่าจ้างให้เกิน 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ และนโยบายเพื่อเริ่มสร้างรัฐสวัสดิการแบบ “ถ้วนหน้า-ครบวงจร-จากภาษีก้าวหน้าที่เก็บจากคนรวย” อีกด้วย

อ้างอิง  http://www.prachatai.com/journal/2011/09/36786 (หนังสือพิมพ์ประชาไท)

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

การควบคุมจริยธรรมนักการเมือง


 เมื่อเดือนเมษายน ปี 2543 มีเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้น ก็ทำให้มีการพูดถึงการสมานฉันท์ พอมาถึงพฤษภาคม ปี 2553 นี้ มีเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องเดียวกันเกิดขึ้นอีก แต่เหตุการณ์มีความรุนแรงมากกว่าและหนักกว่า ก็ทาให้มีการพูดถึงแผนปรองดอง ถ้าจะว่ากันไปแล้ว ผลทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้น ล้วนมาจากเหตุของความขัดแย้ง โดยมีคู่กรณีเป็นนักการเมือง คือ ระหว่างฝ่ายนักการเมืองมีอานาจกับฝ่ายต้องการมีอานาจ และถ้าไม่มอง ในแง่ร้ายกันมากนัก ก็อาจจะถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา สาหรับการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง   
เพียงแต่การได้มาซึ่งอานาจ และใช้อานาจให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนในลักษณะที่ว่านั้นเป็นวิถีทางหรืออุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อคนเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย เป็นคนยึดมั่นในความมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งต้องไม่เอาเรื่องการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรมมาพูดกัน รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับปี 2550 ก็ยังแยกเรื่องจริยธรรมกับเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ออกจากกัน และแต่ละเรื่องมีเนื้อหาและรายละเอียดมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องจริยธรรม   ซึ่งนอกจากการให้ความสาคัญ ในส่วนที่ว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมแล้ว ในรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกันนี้ยังให้ความสาคัญ กับการกาหนดให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพ ในการควบคุมและลงโทษทางวินัยแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมด้วย
สำหรับข้อกาหนดเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม โดยเฉพาะการกาหนดให้นักการเมือง ได้ยึดมั่นในอุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ปฏิบัติหน้าที่การงานให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน ที่มีปรากฏในประมวลจริยธรรมของนักการเมือง มีลักษณะต่าง ๆ เช่น   
จริยธรรมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ โดยยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสิ่งสูงสุด ต้องปฏิบัติหน้าที่และแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเที่ยงธรรม และมีความเป็นอิสระ เพื่อรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสาคัญ
จริยธรรมสมาชิกวุฒิสภา ต้องมีอุดมการณ์ในการทางานเพื่อประเทศชาติและรับใช้ประชาชนอย่างเต็มความสามารถ ด้วยความรับผิดชอบ ยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสิ่งสูงสุด
 จริยธรรมข้าราชการการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ต้องมีอุดมการณ์ในการทางานเพื่อประเทศชาติ ต้องถือเอาประโยชน์ประเทศชาติและประชาชนเป็นสิ่งสูงสุด ต้องรับใช้ประชาชนอย่างเต็มความสามารถด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติและปราศจากอคติ

สาหรับการลงโทษก็ได้กาหนดกระบวนการพิจารณาและกาหนดโทษไว้ชัดเจน คือ ในกรณีที่คณกรรมการเห็นว่ามีพยานหลักฐานที่มีน้าหนักรับฟังได้ และที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใดฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมข้อใด ให้คณะกรรมการมีอานาจพิจารณาลงโทษสมาชิกผู้นั้น ในกรณีคณะกรรมการมีมติว่าเป็นความผิดไม่ร้ายแรง ให้ลงโทษโดยว่ากล่าวตักเตือน ตาหนิ ให้ขอโทษตามที่คณะกรรมการกาหนด หรือประณามให้เป็นที่ประจักษ์ แต่ในกรณีที่คณะกรรมการมีมติว่าเป็นความผิดร้ายแรง ให้ลงโทษโดยเสนอการถอดถอนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินตามกฎหมายต่อไป

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับนโยบายการแก้ปัญหาไฟใต้

รูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ รัฐบาลควรนำองค์ความรู้มาศึกษาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากนักวิชาการที่ได้ ศึกษาในโมเดลต่างๆ โดยเฉพาะร่างของคณะทำงานการศึกษาการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้รัฐธรรมนูญไทย ภายใต้ความร่วมมือของเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ 23 องค์กร เครือข่ายการเมืองภาคพลเมืองเพื่อท้องถิ่นศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะกรรมการภาคประชาสังคม สภาพัฒนาการเมืองสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า เพราะร่างดังกล่าวผ่านกระบวนการทางวิชาการและการลงพื้้นที่กว่า 50 เวทีในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ขณะเดียวกันการอธิบายให้กับคนภายนอกจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เข้าใจว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ไม่ใช่การแบ่งแยกดินแดน แต่เป็นการกระจายอำนาจภายใต้รัฐธรรมนูญ หรืออยู่ภายแนวคิด “ท้องถิ่นดูแลตัวเอง” ก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
อันเนื่องมาจาก แนวคิด “ท้องถิ่นดูแลตัวเอง” ไม่ใช่การปฏิเสธอำนาจรัฐ และไม่ใช่ก้าวแรกของการแบ่งแยกดินแดน การให้ท้องถิ่นดูแลหรือปกครองตนเองนั้น หมายถึงการให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอำนาจในการดำเนินกิจการของท้องถิ่นให้เป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง ซึ่งทำให้แต่ละท้องถิ่นสามารถเป็นตัวของตัวเองได้ โดยที่สามารถ “ออกแบบบ้านของตัวเอง” ได้บนผืนแผ่นดินไทยแห่งนี้
เพราะหัวใจของประชาธิปไตยคือ การที่ประชาชนได้ปกครองตนเอง (Self Government) มิใช่เป็นเพียงผู้ถูกปกครองเท่านั้น
หลักการปกครองตนเองได้ถูกประกาศไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 อย่างชัดเจนในมาตรา 281 ว่า
“ภายใต้บังคับมาตรา 1 รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครอง ตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการ สาธารณะ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ ย่อมมีสิทธิจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” 
ทั้งนี้ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญนั้น ระบุให้รัฐต้องส่งเสริม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมและมีอิสระในการดำเนินการให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นภายใต้หลักบูรณภาพแห่งดินแดนอันแบ่งแยกไม่ได้ โดยราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะต้องไม่แทรกแซงการบริหารกิจการขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวคือ รัฐจะต้องกระจายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ อำนาจการตัดสินใจ และอำนาจการบริหารจัดการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และปรับลดบทบาท ตลอดจนลดการกำกับดูแลของราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคลง เพื่อให้เป็นไปตามหลักความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจะคงไว้ก็แต่กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง การพิจารณาพิพากษาคดี การต่างประเทศ และการเงินการคลังของประเทศโดยรวมเท่านั้น
ในทางปฏิบัติ รัฐจะต้องจัดให้มีกฎหมายกำหนดอำนาจหน้าที่ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยคำนึงถึงการกระจายอำนาจหน้าที่ให้แก่ท้องถิ่นเพิ่มขึ้น และลดความซ้ำซ้อนและขัดแย้งระหว่างส่วนต่างๆ ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้อง “ก้าวให้พ้นไปจากการควบคุมกำกับ ไปสู่ความร่วมมือที่เท่าเทียมกัน ต้องเปลี่ยนความสัมพันธ์แนวตั้งระหว่างรัฐและภูมิภาคที่อยู่ในฐานะควบคุมกำกับ สั่งการ มาเป็นความสัมพันธ์แบบพันธสัญญาที่มีความเท่าเทียมกันในแนวนอนแทน โดยจะต้องแก้กฎหมาย กฎระเบียบใหม่” โดยกฎหมายที่ให้อำนาจแก่ราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในการกำกับดูแลองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องทำเท่าที่จำเป็นเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนใน ท้องถิ่นและของประเทศชาติ แต่จะกระทบต่อสาระสำคัญแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น ไม่ได้ ซึ่งหากขัดต่อหลักการปกครองตนเอง รัฐก็จะต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว อีกทั้งระบุว่าหลักเกณฑ์ของการกำกับดูแลควรต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่แตกต่างกันในหลายรูปแบบ เพื่อให้แต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเลือกไปปฏิบัติเองตามความเหมาะสมหรือการกระจายอำนาจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าว ควรทำไปพร้อมกับจังหวัดจัดการตนเองอื่นๆที่พร้อมอย่างเช่นเชียงใหม่มหานคร ที่กำลังเรียกร้องอยู่เช่นกัน