ประชาธิปไตยพอเพียงก็คืออำนาจที่มาจากการเลือกตั้งควรมีจำกัด ระบบการเมืองไม่ควรอิงกับอำนาจจากการเลือกตั้งเพียงลำพัง อำนาจที่มาจากการเลือกตั้งควรถูกจำกัดโดยอำนาจศาลและอำนาจระบบราชการ ซึ่งแน่นอนว่าทั้งสองอำนาจนี้เชื่อมโยงกับอำนาจของกษัตริย์ เศรษฐกิจ พอเพียงบอกว่าคุณไม่ควรไปข้องเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจภายนอกมากนัก ส่วนประชาธิปไตยพอเพียงบอกว่าคุณควรจำกัดการข้องเกี่ยวกับระบบการเมือง คุณไปออกเสียงเลือกตั้งได้ แต่คนที่คุณเลือกจะถูกกระหนาบโดยศาล โดยวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งครึ่งหนึ่ง โดยอำนาจต่างๆ ของราชการ ผู้พิพากษา และองคมนตรี ทั้งเศรษฐกิจพอเพียงและประชาธิปไตยพอเพียงมีหลักการเดียวกันคือจำกัดประชาชน ให้เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่องท้องถิ่นของตัวเองเท่านั้น
สิ่งสำคัญคือการท้าทายวาทกรรมการซื้อเสียงที่ครอบงำอยู่ เวลาคนพูดถึงการเมืองในชนบทของไทย มีแนวโน้มที่จะพูดเรื่องการซื้อสิทธิ์ขายเสียง แต่ผมพยายามเสนอแนวคิดเรื่องรัฐธรรมนูญชาวบ้านด้วยการบอกว่าชาวบ้านไม่ใช่ เอาแต่ขายเสียง พวกเขาตัดสินใจบนฐานคุณค่าทางการเมืองอีกชุดหนึ่ง สิ่ง สำคัญที่สุดที่ผมต้องการบอกคือว่า เราจำเป็นต้องทำ ความเข้าใจว่าคุณค่าทางการเมืองของชาวบ้านคืออะไร ไม่ใช่แค่ปัดไปง่ายๆ ว่าชาวบ้านขายเสียง
รายงานจากหมู่บ้านที่ผมทำวิจัยอยู่บอกว่าชาวบ้านแค่ไม่เชื่อถือพรรคประชาธิปัตย์ ประชาธิปัตย์ไม่มีเครดิตว่าจะทำตามที่หาเสียงไว้จริงๆ ชาวบ้านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีศรัทธาหรือความไว้วางใจต่อประชาธิปัตย์ มันมีความรู้สึกว่า แม้นโยบายบนกระดาษจะดูไม่แตกต่างกันมาก แต่คนมีความเชื่อมั่นในพลังประชาชนหรือไทยรักไทยที่มา http://thaienews.blogspot.com/2008/08/blog-post_1701.html